สายตาสั้น โดย เดอะวิชั่นออพติค

สายตาสั้น (Near-sightedness หรือ Myopia)

สายตาสั้นเกิดจากกำลังการรวมแสงของตามีมากเกินไปเมื่อเทียบกับความยาวของลูกตา ซึ่งอาจเกิดจากการที่มีความโค้งที่กระจกตามากไปหรือขนาดของลูกตายาวเกินไป เมื่อมองวัตถุที่อยู่ไกลแสงจะตกก่อนที่จะถึงจอประสาทตา เป็นผลทำให้มองเห็นวัตถุที่อยู่ไกลไม่ชัดเจน  ในทางตรงกันข้ามเมื่อวัตถุอยู่ใกล้เข้ามาจะทำให้แสงรวมกันใกล้จอประสาทตามากขึ้นทำให้มองเห็นวัตถุที่อยู่ใกล้เข้ามาได้ชัดเจนมากกว่า ผู้ที่มีสายตาสั้นจึงมองเห็นวัตถุที่อยู่ใกล้ได้ชัดกว่าไกลนั้นเอง

 

อาการสายตาสั้น

ผู้ที่มีภาวะสายตาสั้น นอกจากอาการมองไกลไม่ชัด อาจจะเกิดอาการอื่นร่วมด้วย ดังนี้

  • มีอาการต้องจ้องหรือเพ่งมอง หรี่ตา เพื่อให้มองชัดขึ้น
  • เกิดอาการตาล้าเมื่อเพ่งมองสิ่งที่อยู่ไกลออกไป อาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะได้
  • มองเห็นไม่ชัดขณะขับขี่ โดยเฉพาะเมื่อต้องขับขี้ในตอนกลางคืน หรือที่เรียกว่า สายตาสั้นตอนกลางคืน(Night Myopia)

สาเหตุของสายตาสั้น

นอกจากลักษณะทางกายภาพของตาที่อาจเกิดจากการมีลูกตายาวกว่าปกติ หรือกระจกตามี ความโค้งที่มากเกินไป สาเหตุของสายตาสั้นอาจเกิดจากปัญหาหรือพฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆดังนี้

  • ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม หากบุคคลในครอบครัวมีปัญหาสายตาสั้น โดยเฉพาะในผู้ที่มีทั้งพ่อและแม่เป็นสายตาสั้น ก็จะทำให้มีแนวโน้มเป็นสายตาสั้นได้สูง
  • ใช้สายตามากเกินไป  ผู้ที่อ่านหนังสือ เล่นคอมพิวเตอร์ หรือต้องใช้สายตาเพ่งมองสิ่งต่างๆเป็นเวลานาน จะเสี่ยงต่อการมีสายตาสั้น

การรักษาสายตาสั้น

การแก้ไขปัญหาสายตาสั้น คือการทำให้แสงไปโฟกัสที่จอตา มีดังนี้

  1. การใช้เลนส์ปรับค่าสายตา
    1.1 สวมแว่นสายตา การสวมแว่นสายตาถือเป็นการแก้ไขปัญหาสายตาสั้นที่ง่ายและปลอดภัย เลนส์แว่นสามารถช่วยปรับให้แสงโฟกัสที่จอตาได้พอดี ทำให้สามารถมองเห็นสิ่งที่อยู่ระยะไกลได้ชัดขึ้น
    1.2 ใส่คอนแทคเลนส์  ผู้ที่มีสายตาสั้นอาจเลือกใส่คอนแทคเลนส์เพื่อปรับค่าสายตาให้เป็นปกติ ซึ่งในปัจจุบันการใส่คอนแทคเลนส์ถือว่าได้รับความนิยม เนื่องจากสะดวก เลนส์มีน้ำหนักเบา แต่การใช้คอนแทคเลนส์มีข้อพึงระวังคือเรื่องของความสะอาดและชั่วโมงในการใช้งาน เนื่องจากอาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่ดวงตาได้
  2. การผ่าตัด  วิธีนี้จะช่วยแก้ปัญหาสายตาผิดปกติ จะช่วยให้ผู้ที่มีสายตาสั้นไม่จำเป็นต้องสวมแว่นตา หรือใส่คอนแทคเลนส์อีก ซึ่งการผ่าตัดจะเป็นการใช้เลเซอร์ยิงไปที่กระจกตาเพื่อปรับ ความโค้งของกระจกตา การผ่าตัดสำหรับแก้ไขปัญหาสายตาสั้นนั้นจะทำได้เมื่อดวงตาโตเต็มที่ ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป การผ่าตัดสำหรับรักษาสายตาสั้นประกอบไปด้วยการ ทำเลสิก, LASEK, PRK และการฝังแก้วตาเทียม

การป้องกันสายตาสั้น

ถึงแม้ภาวะสายตาสั้นจะเป็นปัญหาสุขภาพที่ไม่สามารถป้องกันให้เกิดขึ้นได้ แต่เราสามารถป้องกันไม่ให้สายตาสั้นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้การมองเห็นแย่ลงได้ ดังนี้

  • ตรวจสุขภาพตาอย่างสม่ำเสมอ
  • สวมแว่นกันแดดทุกครั้งเมื่อออกไปข้างนอกที่มีแสงจ้า เพื่อปกป้องดวงตาจากรังสียูวี
  • สวมอุปกรณ์ป้องกันดวงตาเมื่อเล่นกีฬา ตัดหญ้า ใช้ผลิตภัณฑ์เคมี หรือทำกิจกรรมที่ดวงตาเสี่ยงได้รับอันตรายได้ง่าย
  • รับประทานผักใบเขียว ผลไม้ และปลาที่อุดมไปด้วย โอเมก้า 3 เพื่อบำรุงดวงตา
  • งดสูบบุหรี่
  • ใช้เลนส์สายตาที่เหมาะสมกับค่าสายตาของตนเอง
  • พักสายตาจากการทำงานหน้าคอมพิวเตอร์หรือการอ่านหนังสือ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการล้าตา

 

*บทความหรือวีดีโอนี้มีลิขสิทธ์ จัดทำโดย www.thevisionoptic.com ไม่อนุญาติให้ทำซ้ำ ดัดแปลง หรือแก้ไข 

Similar Posts

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า