ภาวะสายตาสั้นตอนกลางคืน (Night Myopia)

ภาวะสายตาสั้นตอนกลางคืน(Night Myopia)

AAEAAQAAAAAAAAewAAAAJDhjYjRhZGUxLWQzNmYtNGRhNS1hZDJlLWU4ZTc5N2I4ODBlOQ

หลายคนอาจจะได้เคยประสบปัญหากับการมองเห็นตอนกลางคืนอยู่บ่อยครั้ง ทั้งที่กลางวันเราก็มองเห็นชัดเจนดี

ยิ่งใครหลายคนที่ขับรถตอนกลางคืนแล้วยิ่งสังเกตได้อย่างง่ายดายว่าการมองป้ายบอกทางทำไมมันช่างเบลอเหลือเกิน

ไหนจะแสงไฟจากรถคันอื่นที่สาดส่องมามีความฟุ้งกระจายมากกว่าปกติซึ่งอาการเหล่านี้เราเรียกว่า

“สายตาสั้นตอนกลางคืน(Night Myopia)” คำคำนี้อาจทำให้หลายท่านที่ไม่เคยทราบมาก่อนถึงกับต้องร้องว่าเฮ้ยมันมีด้วยหรอ สายตาสั้นตอนกลางคืน ซึ่งต้องบอกตรงนี้เลยว่ามีจริงและหลายคนก็คงประสบปัญหาอยู่อย่างแน่นอน

สายตาสั้นตอนกลางคืนนั้นได้มีการศึกษาถึงทฤษฎีและสาเหตุที่มาอย่างยาวนานตั้งแต่ช่วงศรรตวรรษที่18

ถึงสาเหตุที่ทำให้การมองเห็นแย่ลงในที่มืด จนได้พบทฤษฎีที่ใช้อธิบายได้ดีที่สุดในการเกิดภาวะสายตาสั้นตอนกลางคืนนั้นคือเรื่องของ Tonic Accommodation ซึ่งอธิบายให้เข้าใจอย่างง่ายๆนั้นก็คือ ระยะพักของการเพ่ง (Resting focus of accommodative state) ที่ลดลงในที่มืด ดังนั้นเวลาหาค่าสายตาในขณะที่มีระยะพักของการเพ่งจะได้ค่าเป็นสายตาสั้น(myopia) ซึ่งจากการวิจัยพบว่ามี38% ของกลุ่มคนในช่วงอายุ16-25ปีมีสายตาสั้นกลางคืน -0.75D.หรือมากกว่านี้

และมี4%ที่มีค่าสายตาสั้นกลางคืนถึง -2.50D. โดยภาวะสายตาสั้นกลางคืนในคนทั่วไปอาจจะไม่มีผลกระทบมากนัก

เพราะกิจกรรมส่วนใหญ่จะเป็นช่วงเวลากลางวันส่วนกลางคืนก็เป็นช่วงเวลาแห่งการพักผ่อนนอนหลับ แต่ปัจจุบันมนุษย์เรามีการใช้ชีวิตในเวลากลางคืนที่ยาวนานขึ้น หรือมีอาชีพในตอนกลางคืนมากกว่าสมัยก่อนจึงพบปัญหาสายตาสั้นตอนกลางคืนมากขึ้นนั่นเอง

ต่อมาคือสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะสายตาสั้นตอนกลางคืน

1.การขยายของรูม่านตา ในภาวะที่มีแสงน้อยรูม่านตาเราจะขยายมากขึ้นเพื่อเพิ่มปริมาณของแสงเข้าสู่ดวงตาให้เห็นภาพดีขึ้น แต่ผลของการขยายของรูม่านตานั้นก็ส่งผลกับสิ่งที่เรียกว่า Spherical aberration หรือการเห็นภาพเบลอมากยิ่งขึ้นเมื่อรูม่านตาขยายกว้างมากขึ้น

2. Spherical aberration คือผลของแสงที่เดินทางผ่านความโค้งของกระจกตาในขณะที่รูม่านตาเปิดกว้างมากขึ้นทำให้แสงมีการหักเหห่างจอรับภาพมากกว่าปกติ แสงยิ่งห่างจอรับภาพมากเท่าไหร่ภาพที่สมองได้รับจะเบลอมากขึ้นความคมชัดของภาพที่เห็นก็จะแย่ลงนั่นเอง

3.เซลล์รับภาพจะมีความไวต่อแสงที่มีความยาวคลื่นแตกต่างกัน โดยในขณะที่มีแสงเซลล์รับภาพจะมีความไวต่อแสงที่ 555nm. และในขณะที่ไม่มีแสงเซลล์รับภาพจะมีความไวต่อแสงที่ 510nm. ซึ่งปริมาณแสงที่แตกต่างกันก็จะส่งผลต่อภาพที่เกิดขึ้นที่สมอง

4. Chromatic aberration คือเมื่อแสงเดินทางผ่านกระจกตาจะหักเหเรียงกันตามลำดับความยาวคลื่นโดยแสงที่มีความยาวคลื่นสั้นจะตกไกลจอรับภาพมากกว่า และเซลล์รับภาพที่มีความไวต่อแสงที่มีความยาวคลื่นต่างกันในสภาวะที่ปริมาณความสว่างต่างกันจึงทำให้เกิดภาวะสายตาสั้นตอนกลางคืนได้ถึง-0.75D.

ส่วนอาการสายตาสั้นตอนกลางคืนนั้นสังเกตได้จากอาการเหล่านี้คือ

-เบลอในที่ ที่มีแสงน้อย

-รู้สึกไม่สบายตาในที่ ที่มีแสงน้อย

-ขับรถในเวลากลางคืนได้ยากลำบาก

-เห็นแสงฟุ้งกระจายมากกว่าปกติ

อย่างไรก็ตามการเห็นภาพมัวลงหรือคมชัดน้อยลงในตอนกลางคืนหรือในเวลาขับรถกลางคืนนั้น สาเหตุ4ข้อข้างต้นอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ทำให้เห็นภาพเบลอเพราะความคมชัดที่น้อยลงอาจมาจากความสกปรกของหน้ากระจกรถหรือการมีรอยขีดข่วนที่แว่นตาของท่านก็เป็นได้ และแม้แต่การมีโรคตาอย่างต้อกระจกก็ส่งผลต่อการมองเห็นคล้ายความสกปรกของกระจกรถแต่ต่างตรงจะเห็นแสงฟุ้งกระจายมากกว่าปกติ ดังนั้นทุกคนจึงมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการตรวจสุขภาพตาและรับการตรวจแก้ไขปัญหาสายตาสั้นตอนกลางคืนอยู่เป็นประจำ และใช้แว่นตาสำหรับกลางคืนโดยอาจใช้ coat ที่มี anti reflex แต่จะไม่แนะนำให้ใช้เลนส์ย้อมสีเพราะจะทำให้สีเพี้ยนไปซึ่งอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

“สุดท้ายอย่าลืมทำความสะอาดกระจกหน้ารถและแว่นตาที่ท่านสวมใส่อยู่เป็นประจำเพื่อให้มีความคมชัดมากขึ้นนั้นเองครับ”

.

.

*บทความหรือวีดีโอนี้มีลิขสิทธิ์ จัดทำโดย www.thevisionoptic.com ไม่อนุญาติให้ทำซ้ำ ดัดแปลง  หรือแก้ไข



เลนส์เฉพาะทาง ที่ร้านเดอะวิชั่นออพติค

Drive Safe เลนส์ระดับไฮเอนด์ ออกแบบโดยคำนวณขนาดของรูม่านตา พร้อมโค้ทติ้งตัดแสงพิเศษที่ช่วยลดแสงฟุ้งกระจายในขณะขับรถได้อย่างดีเยี่ยม

Similar Posts